บทที่13

ความปลอดภัยและความท้าทายด้านจริยธรรม


เรื่องที่ 1 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้




อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
     
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
     
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
     
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
     
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
     
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด





เรื่องที่2  ระบบการควบคุมและตรวจสอบ

ระบบการควบคุมและตรวจสอบ (Systems Control And Audits)

บริษัทฯ ได้จัดให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับลักษณะของงาน หรือสภาพแวดล้อมของกิจกรรมนั้น ซึ่งได้ดำเนินการควบคู่กับการตรวจสอบภายใน และการจัดระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ ได้ยึดถือตามมาตรฐานสากล โดยมีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้ คือ
1.สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)

• การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ไว้อย่างชัดเจนตลอดจนการกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
• การจัดทำข้อพึงปฏิบัติที่เกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจ และจรรยาบรรณของพนักงาน เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในทุกระดับชั้น ได้นำไปประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง และเหมาะสม บริษัทฯ จะใช้การประชาสัมพันธ์ในองค์กร เพื่อให้ได้รับทราบว่า การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และมีจรรยาบรรณ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
• การจัดโครงสร้างขององค์กร ได้แบ่งสายการบังคับบัญชา ตลอดจนการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในงานไว้อย่างชัดเจน และปัจจุบันธุรกิจก่อสร้างได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว บริษัทฯ จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยได้แต่งตั้งผู้ช่วย Supervisory Director ขึ้นเพื่อให้การกำกับดูแลโครงการต่างๆ เป็นไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
• การจัดทำคำบรรยายลักษณะงาน ( Job Description ) และคู่มือปฏิบัติงาน ( Work Manual ) ไว้อย่างชัดเจน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และป้องกันไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน หรือละเว้นในการปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใด
• การจัดฝึกอบรมตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี ตามนโยบายของบริษัทฯ โดยยึดตามหลัก Competency ซึ่งเป็นแผนพัฒนาตามคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่จำเป็นของบุคคล ที่ทำให้สามารถทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม และแสดงบทบาทอย่างเหมาะสม
• การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการ และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมาย
• การจัดให้มีฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยบริษัทฯ เห็นว่าการตรวจสอบภายในเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้การควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ และหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบจะได้ตระหนัก และเพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น



2.การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management )

• บริษัทฯได้ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าความเสียหายหรือความผิดพลาดจะไม่เกิดขึ้นหรือหากเกิดขึ้นจะต้องอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยต้องประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ


3.กิจกรรมการควบคุม ( Control Activities )
• บริษัทฯกำหนดนโยบายแผนงานงบประมาณและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการควบคุมงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยต้องได้รับการตอบสนองและปฏิบัติตามจากผู้บริหารและพนักงานในทุกระดับอย่างถูกต้อง และต้องไม่มีการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายระเบียบข้อบังคับ หรือ คำสั่ง ในสาระสำคัญ

4.ข้อมูลสารสนเทศ และการสื่อสาร ( Information and Communication )• บริษัทฯจัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและทันต่อสถานการณ์ต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในส่วนของผู้บริหาร และพนักงานในทุกระดับ โดยเฉพาะข้อมูลในทางบัญชีและการเงินได้ดำเนินการผ่านระบบSAP ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงาน กับสำนักงานใหญ่่• การสื่อสารระหว่างผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน หรือ ระหว่างหน่วยงานด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และรวดเร็วในการปฏิบัติงานโดยผ่านช่องทาง Electronic Mail และ Intranet
• ฝ่ายบริการองค์กร (Corporate Service Division) ของบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบงานด้าน นักลงทุนสัมพันธ์(Investor Relations)เป็นผู้ให้ข้อมูลทั่วไปข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯแก่นักลงทุนหรือ สาธารณชนทั่วไป

5.การติดตาม และประเมินผล ( Monitoring )
• ฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัทฯ เป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติงานการประเมินผลการควบคุมภายใน และรายงานผลการตรวจสอบต่อฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ หากขั้นตอน หรือ การควบคุมใดที่เป็นจุดอ่อน ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้พิจารณากำหนดมาตรการควบคุม เพื่อแก้ไขปัญหานั้นอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่าระบบการ ควบคุมภายในของบริษัทฯ และการติดตามควบคุมดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อย มีความเหมาะสมและรัดกุม เพียงพอสามารถป้องกันทรัพย์สินของบริษัทฯและบริษัทย่อยจากการที่กรรมการและผู้บริหารนำไป โดยไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมาย ซึ่งอาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ได้
• หน่วยงานที่ถูกตรวจสอบได้รับคำแนะนำให้แก้ไขการปฏิบัติงานหรือต้องเพิ่มมาตรการการควบคุมให้รัดกุมยิ่งขึ้น ฝ่ายตรวจสอบภายใน จะเป็นผู้ติดตาม และประเมินผลตลอดจนรายงานผลให้ฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบ ของบริษัทฯได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯมีความเหมาะสมรัดกุมเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
• ผู้สอบบัญชีเห็นว่าระบบการควบคุมภายใน ของบริษัทฯมีความเหมาะสมรัดกุมเพียงพอ และไม่พบข้อบกพร่องใด ที่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่อบริษัทฯ





คำศัพท์บทที่ 13

  1. Computer Crime                                                อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
  2. Tools of Security Management                          เครื่องมือที่ช่วยจัดการความปลอดภัย
  3. Ethical Guidelines                                             เครื่องชี้นำด้านจริยธรรม
  4. Ergonomics                                                       กายศาสตร์
  5. Technology Ethics                                             จริยธรรมทางเทคโนโลยี
  6. Employment Challenges                                   ความท้าทายด้านการจ้างงาน
  7. Business Ethics                                                 จริยธรรมทางธุรกิจ
  8. Challenges in Working Comditions                   ความท้าทายในเงือนไขการทำงาน
  9. Business Ethics                                                จริยธรรมทางธุรกิจ
  10. Computer Monitoring                                       คอมพิวเตอร์ติดตามการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น