บทที่10

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


เรื่องที่ 1.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ




ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น




เรื่องที่ 2.ธุรกิจและปัญญาดิษฐ์

ธุรกิจและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

บทนำ            ในปัจจุบันที่โลกก้าวไปไม่หยุดยั้ง เราคงไม่อาจปฎิเสธได้ว่า มนุษย์นั้นได้มีการค้นคว้า ศึกษาหาวิธีต่างๆ ที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ในทุกๆด้านของชีวิต และนำมาซึ่งความสะดวกสบายให้กับการดำเนินชีวิต ปัญญาประดิษฐ์ก็เป็นเทคโนโลยีสาขาหนึ่ง ที่มนุษย์ค้นคว้าและสร้างขึ้นมา เพื่อต้องการให้สิ่งประดิษฐ์มีความคิด ความสามารถเทียบเท่ากับมนุษย์ เพื่อสนองความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด และนำมาช่วยเหลือ ส่งเสริม สิ่งที่มนุษย์กระทำ หรือมาแทนที่มนุษย์ในบางเรื่อง เช่นในสภาวะที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำ หรือกระทำได้ไม่ดีเท่ากับเครื่องจักร ในปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้ในหลายๆอุตสาหกรรม ดังเช่นในอุตสาหกรรมการผลิต ทางการแพทย์ ทางการค้นคว้า วิจัย ทางการธนาคาร และอีกหลายสาขา 

ความหมายของปัญญาประดิษฐ์            ปัญญาประดิษฐ์ หรือArtificial Intelligence เป็นเทคโนโลยีสาขาหนึ่งทางคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบไปด้วย ความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้เรียนรู้และเข้าใจความสามารถของมนุษย์ และมีความตั้งใจ ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายกับมนุษย์โดยใช้ซอฟท์แวร์ และฮาร์ดแวร์ เพื่อสามารถทำงานได้แทนมนุษย์ หรือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ให้ได้ดียิ่งขึ้นนิยามของปัญญาประดิษฐ์มีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามให้ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ไว้ ซึ่งสามารถจำแนกแยกเป็น4กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน 

            กลุ่มที่1บอกว่า A.I คือ ระบบที่สามารถคิด และ ให้เหตุผล ได้เหมือนมนุษย์ ซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาและเข้าใจระบบการทำงานของมนุษย์ ให้ได้เสียก่อนแล้วถึงจะสร้างโปรแกรมออกมาได้ 
            กลุ่มที่2บอกว่า A.I. คือ ระบบที่สามารถกระทำได้เหมือนมนุษย์ ซึ่งคือเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมี การรับรู้ได้ถึงวัตถุต่างๆ และจึงกระทำได้เหมือนมนุษย์ เช่น



1. สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 
2. มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับรู้ได้จากการสัมผัส แล้วนำไปประมวลผล
3. เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆในโรงงานอุตสาหกรรม

            กลุ่มที่3บอกว่า A.I. คือ ระบบที่สามารถคิดได้ตามหลักเหตุและผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ 
            กลุ่มที่4บอกว่า A.I. คือ ระบบที่สามารถกระทำได้ตามหลักเหตุและผล เช่น เอเจนต์ ที่เป็นโปรแกรมที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนในระบบบอัตโนมัติต่างๆ ดังเช่นในเกมสหมากรุก






คำศัพท์บทที่ 10

  1. Neural Networks                                            เครือข่ายประสาท 
  2. Cognitive Science                                         กระบวนการรับรู้ทางวิทยาศาสตร์
  3. Knowledge Engineering                                วิศวกรความรู้
  4. Knowledge Management Systems               ระบบการจัดการความรู้
  5. Developing Expert Systems                          การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
  6. Overview of Artificial Intelligence                  ทรรศนะเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์
  7. Software Resources                                    ทรัพยากรซอฟต์แวร์
  8. The Domains of Artificial Intelligence           ขอบเขตความรู้ของปัญญาประดิษฐ
  9. Natural Interfaces                                        ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ
  10. Tactility                                                         ประสาทสัมผัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น